Saturday, February 4, 2023

Special Price "โปรสุดฮิต ต้อนรับปีกระต่าย"

 


 

Special Price "โปรสุดฮิต ต้อนรับปีกระต่าย"

 

วันนี้ - 31 พ.ค. 66 เท่านั้น

ทำระบบ ISO 9001 หรือ ระบบ ISO 14001
พิเศษ วันนี้ ราคา เพียง 99,999 บาท
ราคาที่ปรึกษา รวมค่าตรวจ
การันตีโปรเจค ตรวจผ่านแน่นอน 100%


หมายเหตุ
- สำหรับพนง.ไม่เกิน 30 ท่าน
- ราคานี้รวมค่าเดินทางที่ปรึกษา สำหรับลูกค้าที่อยู่กทม. และปริมณฑล ตจว.มีค่าเดินทาง - หากมีงานออกแบบ ติดตั้งหน้างานเพิ่ม 9,000 บาท



สอบถามเพิ่มเติม
Tel : 095-1614714 (สุ)
Line : consultiso
Email : consult2514@hotmail.com / consult2514@gmail.com
Website : www.consultiso.com





อ้างอิง : https://www.facebook.com/photo/?fbid=635252785271224&set=a.2241559252758387

Tuesday, November 15, 2022

โปรโมชั่น "ลดจัดหนัก ส่งท้ายปี ต้อนรับปีใหม่"

 



โปรโมชั่น "ลดจัดหนัก ส่งท้ายปี ต้อนรับปีใหม่"

 

วันนี้ - 31 ม.ค. 66 เท่านั้น

ทำระบบ ISO 9001 หรือ ระบบ ISO 14001
พิเศษ วันนี้ ราคา เพียง 65,000 บาท
การันตีโปรเจค ตรวจผ่านแน่นอน


หมายเหตุ
ราคานี้สำหรับพนง.ไม่เกิน 50 ท่าน
ราคานี้รวมค่าเดินทางที่ปรึกษา สำหรับลูกค้าที่อยู่กทม. และปริมณฑล ลูกค้าตจว.มีค่าเดินทางเพิ่มเติม



สอบถามเพิ่มเติม
Tel : 095-1614714 (สุ)
Line : consultiso
Email : consult2514@hotmail.com / consult2514@gmail.com
Website : www.consultiso.com





อ้างอิง : https://www.facebook.com/photo/?fbid=568448965284940&set=a.472496708213500

Friday, November 26, 2021

ความแตกต่างระหว่าง Waste กับ Loss



 
วันนี้เราจะมาเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่าง Waste กับ Loss กันค่ะ 

Waste กับ Loss ต่างกันอย่างไร?
          ในแง่มุมของการปรับปรุงผลิตภาพ (Productivity Improvement) แล้วมันมีความต่างกันอยู่ครับ แต่ขณะเดียวกันก็มีความสัมพันธ์กันอยู่ด้วย 

Waste คืออะไร?
          Waste หมายถึง ขยะ ของเสีย ปฏิกูล คือสิ่งที่มนุษย์ไม่ต้องการและหมดประโยชน์แล้ว ฉะนั้นกิจกรรมใดก็แล้วแต่ที่สร้าง waste ให้เกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งที่สูญเปล่าโดยแท้ เราถึงได้เรียกมันในภาษาไทยอย่างเป็นทางการว่า “ความสูญเปล่า”

          ความสูญเปล่ามีอยู่ 7 ประการ นิยามโดยชาวญี่ปุ่นที่สร้าง Toyota Production System (TPS) ซึ่งบรรจุเจ้าความสูญเปล่า 7 ประการนี้ เป็นหนึ่งในสี่ของมาตราการการทำ TPS อันลือเลื่อง โดยที่ TPS มุ่งเน้นที่
- การผลิตเมื่อมีความต้องการเท่านั้น
- การมีส่วนร่วมในการควบคุมกระบวนการของพนักงานอย่างแท้จริง
- การขจัดความสูญเปล่า
- การพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยไม่ย่อท้อ

ความสูญเปล่าทั้ง 7 ประการ มีดังนี้
1. Over production (การผลิตที่มากเกินพอดี)
2. Defect (ความบกพร่องของชิ้นงาน)
3. Waiting (การรอปฏิบัติงาน)
4. Transporting (การขนส่ง)
5. Over processing (วิธีการทำงานที่เกินความจำเป็น)
6. Motion (ผลกระทบจากการปฎิบัติงานของคน)
7. Inventory (การเก็บสำรอง)

คราวนี้เราจะมาพูดกันในส่วนของ Loss บ้าง

Loss คืออะไร?
          Loss หมายถึง ความสูญเสีย ความเสียหาย ให้เรานึกถึงอะไรก็ตามที่เคยมีอยู่ (กายภาพ สมรรถนะ ประสิทธิภาพ ฯลฯ) แต่ต้องสูญเสียมันไป เช่น การเสียหายของทรัพย์สินโดยสิ้นเชิง การเสื่อมสภาพของสิ่งของ การสูญเสียน้ำหนัก การล้มหายตายจาก เป็นต้น ดังนั้นจึงเรียก Loss อย่างเป็นทางการว่า “ความสูญเสีย”

          ความสูญเสียมี 6 ประการ เรียกในภาษาอังกฤษว่า “Six Big Losses” มันเป็นองค์ประกอบอยู่ในเครื่องมือวัดประสิทธิผลรวมของเครื่องจักรอันโด่งดัง ในนามว่า OEE (Overall Equipment Effectiveness) นั่นเอง
โดยการจะได้มาซึ่งค่าของ OEE ที่สูงต้องไปทำการลดเจ้าความสูญเสียทั้ง 6 ประการลง

ความสูญเสียทั้ง 6 ประการ ดังนี้
1) Breakdowns
2) Setup and Adjustments
3) Small Stop
4) Reduced Speed
5) Startup Rejects
6) Production Rejects


มาต่อกันที่ความสัมพันธ์ระหว่าง Waste กับ Loss ว่าเกี่ยวข้องกันยังไง

          Waste (ความสูญเปล่า) เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิด Loss (ความสูญเสีย) ขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น
1. การรอคอยปฏิบัติงาน (Waiting) ทำให้สูญเสียสมรรถนะในการผลิต โอกาสในการทำกำไรความสามารถในการแข่งขัน
2. การผลิตที่มากเกินพอดี (Over Production) ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ การจัดการในส่วนเกิน
โอกาสเกิดการสูญเสียคุณภาพ

          พอจะเห็นภาพขึ้นแล้วใช่ไหมว่าเจ้าความสูญเสีย เป็นผลลัพธ์ปลายทางที่เกิดขึ้นจากความสูญเปล่า แต่ไม่ใช่เพียงแค่ความสูญเปล่าเท่านั้นที่เป็นสาเหตุ ยังมีตัวแปรตัวอื่นอีกที่ทำให้เกิดความสูญเสียขึ้น เช่น ภัยธรรมชาติ ความประมาท เจตนา เป็นต้น

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Thai Better Solutions



อ่านบทความเพิ่มเติม
www.consultiso.com/consult-content

Wednesday, November 3, 2021

มาตรฐาน FCC

 

 

     FCC ย่อมาจาก Federal Communications Commission (คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสาร) องค์กรนี้เป็นตัวแทนรัฐบาลสหรัฐฯ ที่วางระเบียบให้แก่อุปกรณ์ประเภทวิทยุ โทรทัศน์ ผู้ให้บริการการ สื่อสารระหว่างรัฐ และงานให้บริการระหว่างประเทศที่อยู่ในสหรัฐฯ รวมทั้งคอมพิวเตอร์ที่ผลิตสัญญาณความถี่วิทยุ ซึ่งจะไปรบกวนการส่งกระจายทางธุรกิจอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต้องได้รับการรับรองจาก FCC ก่อนที่จะนำไปขายในสหรัฐฯ เพื่อให้ตรงกับข้อจำกัดทางกฎหมายเกี่ยวกับการเป็นตัวนำและการกระจายคลื่นวิทยุ FCC จะแบ่งเครื่อง คอมพิวเตอร์เป็น 2 ประเภท คือ Class A (ใช้ในงานอุตสาหกรรมหรือด้านธุรกิจ) และ Class B (ใช้งานในบ้าน)

          ทั้งนี้ FCC กำหนดกฎระบียบเพื่อให้มีการป้องกันในระดับที่สมเหตุสมผลต่อการรบกวนที่เป็นอันตรายเมื่อเครื่องมือถูกใช้งานในสภาพการใช้งานเชิงพาณิชย์ สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถสร้าง ใช้งาน และสามารถแผ่คลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดการรบกวนที่สร้างความเสียหายต่อการสื่อสารทางวิทยุ หรือการทำงานของอุปกรณ์เหล่านี้ในบริเวณที่พักอาศัยอาจก่อให้เกิดการรบกวนที่เป็นอันตรายได้




อ่านบทความเพิ่มเติม
www.consultiso.com/consult-content

Tuesday, October 5, 2021

มาตรฐาน CE


     วันนี้แอดมินจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับความหมายของมาตรฐาน CE ที่ถูกนำมาวางติดบนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ของเรากันค่ะ 

     CE มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ “European Conformity” เดิมทีใช้เครื่องหมาย EC แต่ภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็น เครื่องหมาย CE อย่างเป็นทางการเมื่อปี 2536 เครื่องหมาย CE ที่ปรากฏอยู่บนสินค้า เป็นเครื่องหมายที่แสดงการรับรองจากผู้ผลิต (Manufacturer’s Declaration) ว่าสินค้านั้น มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของสหภาพยุโรป การมีเครื่องหมาย CE กำกับบนสินค้าจะทำให้สินค้านั้นสามารถวางจำหน่าย และสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีในเขตเศรษฐกิจยุโรป หรือ European Economic Area (EEA) ยกเว้นประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยสมาชิกแต่ละประเทศจะดำเนินการออกกฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของสหภาพยุโรป หรือ EC Directives ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องหมาย CE

ประเภทสินค้าที่ต้องมีสัญลักษณ์มาตรฐาน CE
     สินค้าที่อยู่ในข่ายต้องใช้เครื่องหมาย CE มีสินค้า 23 กลุ่ม ซึ่งจะต้องมีเครื่องหมาย CE จึงจะสามารถวางจำหน่ายและเคลื่อนย้ายภายในเขตเศรษฐกิจยุโรป (EEA) ได้ ซึ่งรวมถึงสินค้านำเข้าด้วย และในแต่ละสินค้าจะมีกฎหมายเฉพาะสินค้า หรือที่เรียกว่า Product Directives ซึ่งให้รายละเอียดข้อกำหนดเฉพาะของแต่ละสินค้า (technical specifications) ที่กำหนดขึ้นมาจากมาตรฐานความสอดคล้อง (Harmonized Standards) ขององค์การมาตรฐานต่างๆ ในยุโรป อาทิ European Committee for Standardization (CEN), European Committee for Electrotechnical Standardization (CENELEC) เป็นต้น โดยสินค้าที่ต้องมีเครื่องหมาย CE มีดังนี้

1. ระบบและอุปกรณ์เกี่ยวกับการจัดการจราจรทางอากาศ ซึ่งรวมถึงระบบการสื่อสาร ระบบการตรวจสอบระบบการให้ความช่วยเหลืออัตโนมัติในการควบคุมการจราจรทางอากาศ และระบบการให้ทิศทาง รายละเอียดปรากฏใน Directive 93/65/EEC ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2537
2. อุปกรณ์เครื่องใช้ที่จุดไฟโดยใช้แก๊ส ซึ่งหมายถึงเครื่องใช้ทุกชนิดที่ใช้ในการทำอาหาร ทำความร้อน ผลิตน้ำร้อน ตู้เย็น แสงสว่าง หรือซักล้าง และที่ซึ่งระดับอุณหภูมิของน้ำไม่เกิน 105 องศาเซลเซียส รายละเอียดปรากฏใน Directive 90/396/EEC ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือน มกราคม 2539
3. ระบบการติดตั้งเคเบิลสำหรับบรรทุกผู้โดยสาร รายละเอียดปรากฏใน Directive 2000/9/EC แต่ยังไม่มีผลใช้บังคับทางกฎหมาย
4. อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้า หรือโวลต์ต่ำ ซึ่งรวมถึง อุปกรณ์ที่ถูกออกแบบสำหรับการใช้กับระดับแรงดันไฟฟ้าระหว่าง 50-1,000 โวลต์ หรือ 75-1,500 โวลต์ รวมทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนมากที่ใช้ภายในประเทศและเชิงพาณิชย์ รายละเอียดปรากฏใน Directive 73/23/EEC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนมกราคม 2540
5. ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการก่อสร้าง รายละเอียดปรากฏใน Directive 89/106/EEC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2534
6. อุปกรณ์และระบบป้องกันสำหรับการใช้ในบรรยากาศที่อาจเกิดการระเบิด ซึ่งหมายถึง เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่สามารถทำให้เกิดการระเบิดผ่านแหล่งกำเนิด ที่ทำให้เกิดการเผาไหม้และระบบป้องกันนี้ถูกออกแบบให้สามารถระงับการระเบิดนั้นได้ รายละเอียดปรากฏใน Directive 94/9/EC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2546
7. วัตถุระเบิดสำหรับพลเมืองใช้ ซึ่งถูกนิยามรายละเอียดในเอกสารข้อเสนอแนะขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตราย รายละเอียดปรากฏใน Directive 93/15/EEC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนมกราคม 2546
8. ภาชนะหุงต้มน้ำร้อน (ปริมาณระหว่าง 4 กิโลวัตต์ ถึง 400 กิโลวัตต์ เผาไหม้โดยของเหลวหรือเชื้อเพลงแก๊ส) รายละเอียดปรากฏใน Directive 92/42/EEC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนมกราคม 2541
9. ตู้เย็นและเครื่องทำความเย็นใช้ภายในครัวเรือน รายละเอียดปรากฏใน Directive 96/57/EC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่ เดือนกันยายน 2542
10. ลิฟต์สำหรับขนผู้โดยสารหรือสินค้า รายละเอียดปรากฏใน Directive 95/16/EC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2542 
11. เครื่องจักรกลทุกชนิดที่มีส่วนประกอบใช้ในการแปรรูป รักษา เคลื่อนย้าย หรือการบรรจุหีบห่อวัสดุรายละเอียดปรากฏใน Directive 1998/37/EC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่ เดือนมกราคม 2538
12. อุปกรณ์เกี่ยวกับการเดินเรือ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายการเดินเรือระหว่างประเทศ รายละเอียดปรากฏในDirective 96/98/EC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนมกราคม 2541 
13. เครื่องมือทางการแพทย์ หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการวินิจฉัย การ ป้องกัน การติดตาม การรักษา หรือการบรรเทาโรค การบาดเจ็บ หรือความบกพร่องทางร่างกาย ซึ่งรวมถึงการทดแทนแขนขา หรือข้อต่อ และการคุมกำเนิด รายละเอียดปรากฏใน Directive 93/42/EEC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่ เดือนมกราคม 2541
14. เครื่องมือทางการแพทย์เกี่ยวกับการฝังที่มีลักษณะเป็นกัมมันตภาพรังสี ซึ่งรวมถึงเครื่องมือที่อาศัยแหล่งพลังงานไฟฟ้า หรือ แหล่งพลังงานอื่นๆ นอกเหนือไปจากที่ผลิตได้โดยตรงจากร่างการมนุษย์ รายละเอียดปรากฏใน Directive 90/385/EEC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนมกราคม 2538
15. เครื่องมือทางการแพทย์ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรค หมายถึง เครื่องมือที่ ใช้ในการตรวจสอบสิ่งต่างๆ เช่น เลือด เนื้อเยื่อจากร่างกายมนุษย์ รายละเอียดปรากฏใน Directive 98/79/EC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2546 
16. เครื่องชั่งแบบไม่อัตโนมัติ หมายถึง เครื่องชั่งที่ต้องมีผู้ควบคุมเครื่องใน กระบวนการชั่ง รายละเอียดปรากฏใน Directive 90/384/EEC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนมกราคม 2546
17. อุปกรณ์ป้องกันตัวส่วนบุคคล หมายถึง เครื่องมือใดๆ ที่บุคคลใช้ใน การป้องกันความปลอดภัยหรือต่อต้านสิ่งที่เป็นอันตราย รายละเอียดปรากฏใน Directive 89/686/EEC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2538
18. อุปกรณ์เกี่ยวกับแรงดัน ซึ่งรวมถึงท่อ หรืออุปกรณ์ด้านความปลอดภัย และอุปกรณ์/ส่วนประกอบเกี่ยวกับแรงดันทุกชนิด รายละเอียดปรากฏใน Directive 97/23/EC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2545
19. อุปกรณ์เกี่ยวกับวิทยุ และอุปกรณ์เกี่ยวกับสถานีโทรคมนาคม รายละเอียดปรากฏใน Directive1999/5/EC ซึ่งในแต่ละตัวสินค้ามีผลใช้ บังคับทางกฎหมายในระยะเวลาที่แตกต่างกัน
20. เรือขนาดความยาวของลำเรือตั้งแต่ 2.5 – 24 เมตร ที่ใช้สำหรับการ กีฬา หรือ การพักผ่อนรายละเอียดปรากฏใน Directive 95/25/EC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2541
21. ท่อแรงดัน ซึ่งรวมถึงท่อเชื่อมโลหะที่นำมาใช้บรรจุอากาศ หรือ ไนโตรเจน ณ ความดันที่เกินกว่า 0.5 บาร์รายละเอียดปรากฏใน Directive 87/404/EEC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2535
22. ของเล่น หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบและทำให้สำหรับเด็กอายุ ไม่เกิน 14 ปีเล่น รายละเอียดปรากฏใน Directive 88/378 ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือน มกราคม 2533
23. ระบบรถไฟภายในยุโรป รายละเอียดปรากฏใน Directive 96/48/EC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2539
     นอกจากนี้ สหภาพยุโรปกำลังอยู่ระหว่างเตรียมการออกกฎระเบียบเครื่องหมาย CE สำหรับสินค้าโลหะมีค่า และ หลอดไฟเรืองแสง อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว EU Directives จะให้ระยะเวลาผ่อนผันกับผู้ประกอบการในการ ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎระเบียบนั้น แต่เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาผ่อนผันแล้ว ผู้ผลิตจะต้องใช้เครื่องหมาย CE กำกับ บนสินค้า จึงจะสามารถวางขายได้ในตลาดยุโรป


อ่านบทความเพิ่มเติม
www.consultiso.com/consult-content

Tuesday, September 28, 2021

ขยายต่อโปรโมชั่น ลดแรงส์!! แซงโควิด

 


โปรโมชั่น ลดแรงส์!! แซงโควิด

 

>>> ขยายต่อโปรโมชั่น <<< 
วันนี้ - 31 ธ.ค. 64

ทำระบบ ISO 9001 หรือ ระบบ ISO 14001
พิเศษ วันนี้ ราคา เพียง 75,000 บาท
การันตีโปรเจค ตรวจผ่านแน่นอน


หมายเหตุ
ราคานี้สำหรับพนง.ไม่เกิน 15 ท่าน
ราคานี้ยังไม่รวมค่าเดินทางที่ปรึกษา



สอบถามเพิ่มเติม
Tel : 095-1614714 (สุ) / 097-1288284 (หมู)
Line : consultiso / mooh.iso
Email : consult2514@hotmail.com / consult2514@gmail.com
Website : www.consultiso.com





อ้างอิง : https://www.facebook.com/consult2514/photos/3062847510629553

Monday, June 14, 2021

โปรโมชั่น ลดแรงส์!! แซงโควิด


โปรโมชั่น ลดแรงส์!! แซงโควิด

 

วันนี้ - 30 ก.ย. 64 เท่านั้น

ทำระบบ ISO 9001 หรือ ระบบ ISO 14001
พิเศษ วันนี้ ราคา เพียง 75,000 บาท
การันตีโปรเจค ตรวจผ่านแน่นอน


หมายเหตุ
ราคานี้สำหรับพนง.ไม่เกิน 15 ท่าน
ราคานี้ยังไม่รวมค่าเดินทางที่ปรึกษา



สอบถามเพิ่มเติม
Tel : 095-1614714 (สุ) / 097-1288284 (หมู)
Line : consultiso / mooh.iso
Email : consult2514@hotmail.com / consult2514@gmail.com
Website : www.consultiso.com





อ้างอิง : https://www.facebook.com/consult2514/photos/2968982680016037

Special Price "โปรสุดฮิต ต้อนรับปีกระต่าย"

    Special Price "โปรสุดฮิต ต้อนรับปีกระต่าย"   วันนี้ - 31 พ.ค. 66 เท่านั้น ทำระบบ ISO 9001 หรือ ระบบ ISO 14001 พิเศษ วันนี้ ราค...